วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2560

Review : หนังสือวิธีวิทยาการสอนดนตรี (รศ.ดร.ณรุทธ์ สุทธจิตต์)

        สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านค่า :) วันนี้ขอเปิดบล็อกด้วย รีวิวหนังสือวิธีวิทยาการสอนดนตรี ซึ่งเขียนโดย รศ.ดร.ณรุทธ์ สุทธจิตต์ นะคะ  อาจารย์ณรุทธ์ ท่านได้เขียนหนังสือที่เป็นประโยชน์ต่อวงการดนตรีศึกษาไว้มากมายทั้ง หนังสือดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำคัญ หนังสือจิตวิทยาการสอนดนตรี หนังสือสังคีตนิยม : ความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก หนังสือพฤติกรรมการสอนดนตรี (ซึ่งฉบับปัจจุบันคือ หนังสือวิธีวิทยาการสอนดนตรี) เรียกได้ว่าในวงการดนตรีศึกษา ไม่มีใครที่ไม่รู้จักอ.ณรุทธ์เลยจริงๆ ^^
        หลายคนมีคำถามว่า หนังสือเล่มนี้ดียังไง แตกต่างจาก edition ก่อนๆ ยังไง ขอบอกเลยว่า หนังสือเล่มนี้จะทำให้เข้าใจประเด็นต่างๆในการสอนดนตรีรวมไปถึงทางดนตรีศึกษา ฉบับปรับปรุงนี้เพิ่มเติมทั้งในเรื่องของเนื้อหาให้ครอบคลุม และทันเหตุการณ์ สามารถหยิบไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นหนังสือที่ครูดนตรีควรมีจริงๆค่ะ ฉบับปรับปรุงนี้มีจำนวนทั้งสิน 371 หน้า ในส่วนของเนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย
- บทนำ ซึ่งจะเป็นการปูพื้นความเข้าใจในเรื่องของวิธีวิทยาการสอนดนตรี ว่าเป็นอย่างไร เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
- บทที่ 1 หลักสูตรดนตรี ในบทนี้จะกล่าวถึงความหมาย ทฤษฎี รูปแบบของหลักสูตร เนื้อหาหลักสูตรดนตรีในแต่ละระดับตั้งแต่ปฐมวัยศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา
- บทที่ 2 โครงการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ บทนี้พูดถึง การจัดทำโครงการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ กล่าวถึงรายละเอียดในแต่ละองค์ประกอบ และมีตัวอย่างโครงการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ด้วย ดีไปอีก
- บทที่ 3 เทคนิควิธีสอนดนตรี บทนี้ช่วยให้เข้าใจหลักการทั่วไปในการสอนดนตรีทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ บทนี้สามารถนำหลักการไปปรับใช้กับการสอนได้เต็มๆ สอนด้วยหลักการอะไร เหมาะกับผู้เรียนกลุ่มไหน ทำอย่างไรให้ได้สาระทางดนตรีครบถ้วนทั้งทฤษฎีและทักษะปฏิบัติ
- บทที่ 4 การบริหารจัดการและวินัยในชั้นเรียนดนตรี บทนี้กล่าวถึงการบริการจัดการชั้นเรียน กรอบการสอน กลยุทธ์การสอน การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ วินัยในชั้นเรียน และแนวทางการสร้างวินัยในชั้นเรียนดนตรี  บทนี้ครูดนตรีสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กๆได้เต็มๆ
- บทที่ 5 กิจกรรมดนตรี บทนี้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ ข้อควรคำนึงถึงในการจัดกิจกรรมดนตรีและประเภทของกิจกรรมดนตรี
- บทที่ 6 สื่อการสอนดนตรี บทนี้ทำให้เราเห็นภาพว่า สื่อการสอนดนตรีในปัจจุบันมีกี่ประเภท มีอะไรบ้าง และมีหลักการในการจัดทำสื่อการสอนดนตรีอย่างไร
- บทที่ 7 การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนดนตรี บทนี้ให้ความหมายของการวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผลทางดนตรีทั้งทักษะดนตรี เจตคติดนตรี มีการประเมินในรูปแบบใดได้บ้าง ในลักษณะใด
- บทที่ 8 การวิจัยในชั้นเรียนดนตรี บทนี้เบื้องต้นให้ความรู้ในการทำวิจัยชั้นเรียน ตั้งแต่หลักการ ขั้นตอน การเขียนแบบเสนอโครงการ รูปแบบรายงานวิจัย ไปจนถึงการเขียนบทความวิจัย บทความวิชาการ
        สรุปคือ เพิ่มเติมจาก Edition ก่อนๆเยอะมากจริงๆ อ่านจบได้องค์ความรู้ครบทั้งในด้านครู ผู้เรียน หลักสูตรและการเรียนการสอนในด้านดนตรีเลย เริ่มจากเนื้อหากว้างๆเกี่ยวกับหลักสูตรดนตรี เริ่มเขียนแผนไปจนถึงการวัดประเมินผลเลยทีเดียว แถมมีโบนัสแทร๊กซ์อีก เป็นวิจัยในชั้นเรียนดนตรี เรียกได้ว่าเป็นคู่มือประจำตัวในการสอนดนตรีได้เลย คุ้มเชื่อเถอะ ราคา 359 บาท ย้ำอีกครั้งราคานี้กินบิงชูแป๊บเดียวก็หมด ต้องมีไว้ครอบครอง แล้วจะดีต่อใจ หนังสือดีต้องบอกต่อค่ะ
        สุดท้ายก็อยากจะบอกว่า โดยส่วนตัวเชื่อว่าครูดนตรีทุกท่าน มีความรู้ความสามารถทางดนตรี มีเทคนิคการสอน และมีความเป็นครูดนตรีอย่างแน่นอน แต่เชื่อเถอะว่า เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว จะทำให้เข้าใจแนวคิด องค์ประกอบต่างๆที่ส่งผลต่อการสอน สามารถนำมาปรับใช้ ทำให้การจัดการเรียนการสอนดนตรีมีประสิทธิภาพขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ
หมายเหตุ* ท่านใดที่สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติม หรือ สั่งจองได้ทางเฟสบุ๊คเพจ "
การประชุมวิชาการดนตรีศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 2"  หรือ link : www.facebook.com/ncme2017/  หรือติดต่อหนุนมาได้หลังไมค์เลยนะคะ  ว่าแล้วก็ฝากการอบรมดีๆทางดนตรีศึกษาอีกหนึ่งงานนะคะ จัดขึ้นวันที่ 19-20 มกราคม 2560 ติดตามรายละเอียดและข่าวสารได้ทางเฟสบุ๊คเพจนี้เลยค่า  :) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น